เครื่องมือพัฒนาแอพพลิเคชันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ชื่อว่า App Inventor เป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่ทำให้ใครก็สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันบนมือถือแอนดรอยด์ (Android Phone) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักพัฒนาโปรแกรมก็สามารถสร้างแอพพลิเคชันได้
คุณสมบัติของ Android Dev Tool เป็นแบบ Visually Design คือทำให้เราสามารถพัฒนาแอพพลิเคชันบนแอนดรอยด์ได้ โดยไม่ต้อง coding นั้นเอง
ทำไมต้องเป็น App Inventor
App Inventor ช่วยให้คุณสามารถสร้างโปรแกรม Android โดยไม่ต้องเขียนโค้ดโปรแกรมหรือแทนการเขียนโค้ด คุณสามารถมองเห็นวิธีการออกแบบแอพพลิเคชั่นผ่านหน้าจอ กำหนดองค์ประกอบของแอพพลิเคชั่น แล้วระบุลักษณะหรือเหตุการณ์การทำงานของแอพพลิเคชั่น โดยการกำหนดค่าที่ต้องการลงในบล็อก ทำให้คุณสามารถทำอะไรกับโทรศัพท์ Android ด้วยบล็อกได้ เหมือนกันบการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น การกำหนดตัวแปร การสร้างเงื่อนไข ดำเนินงานการทำซ้ำและมีเงื่อนไข หรือแม้แต่การคำนวณ มีบล็อกแม้กระทั่งการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลและสร้างการพูดคุยกับบริการเว็บ เช่น Twitter หรือ Facebook ได้
App Inventor เป็นภาษาภาพที่มีอินเตอร์เฟซ แบบลากและวาง แม้กระทั่งคนที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม หรือไม่รู้ภาษาคอมพิวเตอร์ใดเลย ก็พัฒนาแอพพลิเคชั่นของตนเองได้ ทั้งนี้เพราะ
1. App Inventor มีความผิดพลาดในกรณี ไวยากรณ์ หรือ No syntax เพราะเป็นภาษาบล็อก ที่ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งและพิมพ์รหัสลงไป
2. ใน App Inventor ทุกสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของคุณหรือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและคุณสมบัติทางโปรแกรมต่างๆ มีการจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ สามารถใช้งานได้เพียงแค่ลากและวางเท่านั้น
3. App Inventor เป็นการออกแบบแอพพลิชั่นแบบระดับชั้น จากบนสู่ล่าง เกิดขึ้นตามลำดับที่ผู้ออกแบบได้กำหนดด้วยตนเอง
4. App Inventor มีองค์ประกอบทางโปรแกรมระดับสูง แต่มีความเรียบง่ายในการใช้งาน
สำหรับการเข้าโปรแกรมMIT App Inventor ต้องใช้อีเมล์ของ GMAIL ล๊อกอินเข้าทำงานได้ที่ http://ai2.appinventor.mit.edu
กด new project เพื่อทำการสร้างโปรเจคใหม่
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบประกอบด้วยUser Interface เป็นส่วนที่แสดงบนหน้าจอจะเป็นส่วนที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้แอพกับตัวแอพ
Layout เป็นส่วนที่จะมาจัดวางการแสดงผลของหน้าจอว่าจะวางยังไรให้สวยงาม
Media เป็นส่วนของการใช้งานด้านมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเสียง วิดีโอ ถ่ายรูป อัดเสียงและอีกมากมาย
Drawing and Animation จะเป็นส่วนของการวาดรูปและการทำให้ภาพเกิดการเคลื่อนไหว
Sensors จะเป็นส่วนที่ใช้ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์
Connectivity เป็นส่วนการเรียกใช้บลูทูธ
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม
Block คำสั่งลักษณะเหมือนต่อจิกซอว์ จะเรียกว่า Blocks เพื่อให้สั่งงานให้ทำตามที่เราสั่งงานให้แสดงผลออกมา
ผลที่ได้จากการออกแบบ Application บน Android
เเหล่งอ้างอิง
http://wiwatmee.blogspot.com/2012/09/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น